เมื่อทำผิดพลาด อยู่ต่อ หรือลาออก…?

ads

โพสต์นี้ มาจากประสบการณ์ตรงเลยครับ เมื่อเซิร์ฟเวอร์เกิดเดี้ยงขึ้นมา งานเข้าเลยครับ… อีกทั้งความผิดพลาดคราวนี้มันแรงมากครับ แล้วก็เลยเป็นประเด็นที่ว่า ลาออก หรืออยู่ต่อดี

การทำผิดพลาด

การทำผิดพลาด เป็นปกติของการทำงาน ที่จะมีเหตุที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นได้ แต่เมื่อเกิดข้อผิดพลาด ก็ต้องมีการแก้ไขครับ

201101smit1

อยู่ต่อหรือลาออก

แต่พอมีข้อผิดพลาดที่ผลที่ตามมานั้นร้ายแรงมาก คำถามต่อมาก็คือ คนที่รับผิดชอบนั้นจะอยู่ต่อ หรือลาออกดี

ตัวอย่างในการเมือง

การทำผิดพลาดที่เราเห็นอยู่สม่ำเสมอตามหน้าหนังสือพิมพ์ ก็คงจะเป็นเรื่องการเมืองครับ เรื่องที่พึ่งจะผ่านไปไม่นานตอนผมเขียนโพสต์นี้ก็น่าจะเป็นเรื่อง นายกฯ ยิ่งลักษณ์ กับนายกฯ เกาหลี

  • นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ยอมลาออกซะที ทั้งๆที่ยุบสภาไปแล้ว ยังไง๊ ยังไงก็ไม่ลาออก เพื่อรักษาการณ์ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อจัดการเลือกตั้งเพื่อให้มีรัฐบาลใหม่ให้เรียบร้อยซะก่อน ก็มีคนด่าและคนเชียร์คละกันไป…
  • นายกรัฐมนตรีประเทศเกาหลีใต้ ที่ประกาศลาออก หลังจากจัดการเรื่องเรือล่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว ที่คนไทยสรรเสริญ แต่คนเกาหลีไม่แฮปปี้ด้วย

อยู่ต่อหรือลาออก: การแสดงความรับผิดชอบ

อ้าว แล้วทีนี้เราจะทำยังไงดี?  ผมเลยเอาประเด็นนี้ไปถามเพื่อนๆในเฟสบุ๊ค ซึ่งก็มีไม่กี่คนให้คำปรึกษา กับคำถามที่ว่า “เมื่อทำผิดแล้ว ควรต้องลาออกมั้ย? หรืออยู่ทำงานต่อดี? อันไหนคือการแสดงความรับผิดชอบที่เหมาะสมกว่ากัน เพราะอะไร”

ก็ได้ความเห็นมาบ้างครับ ดังนี้


ควรแก้ปัญหาให้ลุล่วงแล้วลาออกนะ


ควรทำสองอย่าง

1. ทำให้เกิดผลดีที่สุดกับบริษัท
2. แสดงความรับผิดชอบ

ใช้เงื่อนไข สองข้อนี้ โดยให้ Priority กับ ข้อ 1 มากกว่า
ในการตัดสินใจว่าจะทำอะไร


 

เพื่อนมาอธิบายละเอียดๆ ก็ตามนี้ครับ


ถ้าเราป็นหัวหน้าเค้า ต้องรับผิดชอบในการเคลียร์กับฝ่ายอื่นๆ แต่ไม่ใช่การลาออก

ในฐานะหัวหน้าทีลูกน้องทำผิด การที่หัวหน้าลาออก ไม่ได้ทำให้ปัญหาจบ แต่จะทำให้ปัญหาลุกลามไปยังประเด็นอื่น

แล้วจะเครียดหนักกว่าเดิม

ต้องทำการแก้ไขข้อผิดพลาดให้ได้เร็วทีสุด ดีที่สุด และเคลียร์ความรู้สึกกับส่วนที่เกี่ยวข้อง ว่าปัญหาเกิดได้ แก้ได้ กู้ได้ มันคือเรื่องปกติ

แต่กับลูกน้อง เราก็ต้องพาเค้าไปรับทราบสภาวะที่เราเจอ ไปด้วยกัน ให้เค้าเห็นว่าเราปกป้องเค้ายังไง แต่เค้าต้องรับฟังคำติเตียนพร้อมกับเรา

แล้วคุยกับลูกน้องว่า ตัวเค้าเองจะแก้ไขปัญหานี้ยังไง ให้เค้าแสดงความรับผิดชอบ ถ้าเค้าบอกจะลาออก ก็จะได้สอนเค้าได้ ว่าการลาออกคือการหนีปัญหา คนกล้าต้องพิสูจน์ตัวเอง

เคสเรา ลูกน้องเราทำงานพลาด เสียหายหลายแสน เราเป็น ผจก. นายเราเป็น ผอ. แล้วก็ลูกน้องเรา รวม 3 คน ไปเดินขอโทษผู้บริหารท่านอื่น แล้วเสนอแนวทางแก้ปัญหา พร้อมยินดีเขียนใบลาออกล่วงหน้า ถ้าปัญหาเดิม จากคนเดิมเกิดขึ้นอีก


 

นอกจากนั้น ประเด็นที่เจ้านายเค้าจะเอาหรือไม่เอาคนงาน ก็มีปัจจัยหลายอย่าง เช่น คนเก่าอยู่มานานหรือเด็กใหม่เพิ่งทำงานได้ไม่กี่ปี ความไว้เนื้อเชื่อใจกับคนงาน

สำหรับโพสต์นี้ คงจะเขียนแค่นี้ล่ะครับ ทิ้งประเด็นไว้เพียงเท่านี้ พูดตามตรง ตอนที่พิมพ์อยู่นี้ผมอยู่ในอารมณ์ที่ไม่ปกติเท่าไหร่

ถ้ามีความเห็นอะไร ก็เขียนด้านล่างได้เลยนะครับ คุยกันได้ แต่ของดคำหยาบนะครับ และขอเหตุผลรับรองการแสดงความเห็นด้วยครับ เราจะได้ถกกันได้ครับ

ClkMxXdYgyr2Zj3l

ads
ads
ads
ads

Comments

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save