ฟังดร.เล่า: น้ำท่วมเมืองไทย 6 – หรือนี่เป็นจุดกำเนิดของคำว่า “น้ำรอการระบาย”

ads

สวัสดีครับ วันนี้มีเรื่องจากดร.มาเล่าฟังอีกแล้ว ช่วงนี้ก็เข้าหน้าฝนของปีอีกแล้ว พอฝนตกหนักน้ำก็เลยท่วม พอดีที่ผู้ว่าฯกทมเค้าขอให้ใช้คำว่า “น้ำรอการระบาย” แล้วก็มีหลายๆคนเอาไปเล่นกันสนุกใหญ่เลย

เมื่อวานก็คุยกันเล่นๆกับดร. ก็เลยไปถึงไอ้คำว่า “น้ำรอการระบาย” ของผู้ว่าฯ นี่แหละ อยู่ดีๆดร.ก็พูดขึ้นมาว่า “พ่อนี่แหละ เป็นคนเริ่มคำว่า ‘น้ำรอการระบาย’

ไอ้เราก็ ห้ะ! ใช่หรอป๊า? ทีนี้ดร.ก็เลยเล่าให้ฟัง

คือเมื่อก่อน ตอนที่ดร.เคยรับราชการอยู่ที่กรมทรัพย์ฯ เคยเขียนบทความให้กทม. เกี่ยวกับน้ำท่วมในกรุงเทพเนี่ยแหละ

ดร.ยกตัวอย่าง ถ.วิภาวดี ในสมัยก่อนนั้น ถ.วิภาวดียังไม่ใหญ่เท่านี้ (จำไม่ได้แล้วว่ามีข้างละกี่เลน เดี๋ยวไปถามมาใหม่) แล้วข้างถนนสองข้างก็จะมีคู เอาไว้ระบายน้ำจากถนน คูมันก็กว้าง แบบกว้าง 3-4 เมตร แล้วก็ลึก เมตรกว่าเลยล่ะ แต่พอเมืองขยาย เค้าก็ขยายถนน แล้วก็เอาดินไปถมคูที่อยู่ข้างๆถนน แล้วเดินเป็นท่อระบายน้ำแทน ไอ้ท่อระบายน้ำที่เอาแทนเนี่ย มันเหลือความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางแค่ 1 เมตรแค่นั้นเอง ทีนี้ พอฝนตกมาบนถนน น้ำที่เคยมีคูระบายน้ำขนาดใหญ่ไว้รอรับ มันก็ไม่มีที่ไป มันก็เลยอยู่บนถนน เพื่อ “รอการระบาย” นี่แหละ

นั่นแหละครับ ดร.บอกว่าไอ้ “น้ำรอการระบาย” เนี่ย มันเกิดจากท่อระบายน้ำมันเล็กเกินไป มันระบายไม่ทัน มันเลยรอการระบายก่อน … สงสัยผู้ว่าฯคงได้ไปอ่านบทความที่ดร.เขียนเอาไว้ให้มั้งครับ ^^

จบก่อนนะ เดี๋ยวเขียนเรื่องเสาเข็มกับน้ำในกรุงเทพให้อ่านอีกทีนะครับ

Ps: เขียนแบบเร็วๆก่อนนะครับ เดี๋ยวหารูปมาใส่อีกที

ads
ads
ads
ads

Comments

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save