ฟังดร.เล่า: น้ำท่วมเมืองไทย 1

ads

น้ำท่วมในจังหวัดทางภาคอีสานของประเทศไทย ทำให้ผมได้มีโอกาสคุยกับพี่ @iPattt ถึงเรื่อง ความสบายของคนกรุง vs. ความเดือดร้อนของคนชนบท ซึ่งผมมีมุมมองต่างออกไป

แนวความคิดเรื่องน้ำท่วมของผมนั้นเริ่มมาจากที่ผมดูข่าวเรื่องน้ำท่วม แล้วคิดว่าทำไมเราไม่มีการจัดการน้ำที่ดีกว่านี้ ขนาดในสมัยอียิปต์โบราณยังมีการจัดการเรื่องชลประทานที่ดีเลย ก็เลยไปถามพ่อผมเกี่ยวกับเรื่องนี้

น้ำท่วมเมืองไทย: บทบาทของนักวิชาการ

เรื่องน้ำท่วมนั้น พ่อบอกว่าจริงๆแล้วนักวิชาการในส่วนราชการไทยมีคนที่มีความรู้ในการจัดการน้ำอยู่เยอะ แต่ไม่มีคนที่ทำจริงๆซักที คนที่ทำก็ไม่รู้จริง

น้ำท่วมเมืองไทย: แนวความคิดในการแก้ปัญหา

การที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วมได้นั้นจะต้องมีการศึกษาเก็บข้อมูลน้ำเพื่อทำการวิเคราะห์ปริมาณน้ำซะก่อน โดยเมื่อมองแนวเทือกเขาเป็นตัวแบ่งระหว่างลุ่มน้ำ (รูปที่ 1) ก็จะเห็นว่ามีลุ่มน้ำส่วนหนึ่งที่มีน้ำเยอะ และจะมีลุ่มน้ำอีกส่วนหนึ่งที่มีน้ำน้อย

หลักการของการแก้ปัญหาน้ำท่วมคือการกระจายน้ำจากส่วนที่น้ำเยอะไปสู่ส่วนที่มีน้ำน้อย โดยจะต้องมีการดำเนินการในส่วนนี้คือ น้ำที่มาจากภูเขา จะต้องมีการปันน้ำออกไปทางอื่น เพื่อเป็นการแบ่งน้ำที่จะไหลลงลุ่มน้ำให้น้อยลงไป โดยการจะบอกได้ว่าจะปันน้ำยังไง เมื่อไหร่ ก็จะต้องทำการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลปริมาณน้ำและทำการวิเคราะห์ในเชิงกว้างทั้งประเทศ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาประเมินปริมาณของน้ำในแต่ละส่วนได้

น้ำท่วมเมืองไทย: กรุงเทพฯ

สำหรับน้ำท่วมในกรุงเทพฯที่มีบทความของ @fringer เรื่อง ความสบายของคนกรุง vs. ความเดือดร้อนของคนชนบท ซึ่งตรงนี้ผมเห็นด้วยกับพี่ @iPattt ครับ แต่แนวทางแก้ปัญหาต่างกันไปครับ

สาเหตุของน้ำท่วมในกรุงเทพฯนั้น พ่อเล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนกรุงเทพฯน้ำไม่ท่วมครับ โดยคลองต่างๆ ยังมีขนาดใหญ่กว่านี้เยอะ ยกตัวอย่างคลองเลียบถนนวิภาวดี-รังสิต ซึ่งเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน (เขียนบทความปี พ.ศ. 2553) คลองระบายน้ำข้างถนนจะมีขนาดกว้างกว่าปัจจุบันนี้ประมาณ 3 เท่าครับ ทำให้สามารถระบายน้ำได้ดี แต่เมื่อมีการขยายถนน มีการสร้างตึก ก็ทำให้ทางระบายน้ำต้องน้อยลงไปครับ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯครับ

และอีกสาเหตุของน้ำท่วมในกรุงเทพฯที่ผมได้คุยกับพ่อในวันนี้ (19/10/2553) เกี่ยวกับการที่ต้องปันน้ำให้อยู่ภายนอกกรุงเทพฯจากบทความของ @fringer ข้างต้น พ่อบอกว่าพื้นที่กรุงเทพฯเป็นพื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะมีตะกอนดิน (silt) ไหลมากับแม่น้ำ รวมมาเป็นสันดอนปากแม่น้ำ ซึ่งตะกอนเหล่านี้บางส่วนก็จะตกตะกอนอยู่กลางทาง พ่อบอกว่าถ้า 10 ปีก่อนแม่น้ำเจ้าพระยาลึกระดับหนึ่ง (รูปที่ 2 ด้านซ้าย) แล้วสมมุติว่าสามารถรองรับน้ำที่ไหลมาปีละ 10 ล้านลูกศก์เมตร แล้วทีนี้ตะกอนก็ไหลมาสะสมเรื่อยๆ ทุกวัน ทุกปี และที่ปากแม่น้ำก็มีตะกอนไหลมาเติมเหมือนกัน จนแม่น้ำตื้นเขินกว่าที่เคยเป็นดังในรูปที่ 2 ด้านขวา แต่ทีนี้น้ำยังไหลเท่าเดิม ก็จะทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและทำให้น้ำท่วมกรุงเทพในที่สุดครับ

สำหรับวิธีแก้ไขน้ำท่วมในกรุงเทพฯ พ่อบอกว่าจะต้องขุดลอกแม่น้ำตั้งแต่ต้นสาย เรื่อยมาจนออกทะเลไป โดยต้องทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งควรจะต้องก่อเขื่อนกั้นดินริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อกันดินที่ยังร่วนอยู่ ไม่ให้ลงมาในแม่น้ำ โดยจะต้องกั้นลึกลงไปจนถึงระดับดินแข็งที่อัดตัวแน่นแล้ว เพราะดินกรุงเทพเป็นดินร่วนครับ อย่างเวลาตอกเสาเข็มยังต้องตอกลึกลงไปถึงชั้นดินที่อัดตัวแน่นแล้วครับ ตรงนี้พ่อบอกว่ารัฐต้องใช้งบประมาณมหาศาลซึ่งมากกว่าการที่ไปให้ค่าตอบแทนกับชาวนาที่ให้ที่นาสำหรับปันน้ำไม่ให้เข้ามาในกรุงเทพฯ เยอะนักครับ

น้ำท่วมเมืองไทย: ปิดท้าย

พ่อบอกว่าการแก้ปัญหาน้ำท่วม ก็เหมือนกับปัญหารถติด ซึ่งจะต้องมีการแก้ปัญหาจากภาพรวมโดยกว้าง และจะต้องแก้กันในระยะยาว โดยควรจะต้องมีวิศวกรมาเก็บข้อมูลและศึกษาแนวทางแก้ไข เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างเป็นระบบต่อไปครับ

สำหรับคราวนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ ไว้วันหลังจะมาเล่าเรื่องอีกครับ

ads
ads
ads
ads

Comments

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save