ฟังดร.เล่า: น้ำท่วมเมืองไทย 3 – น้ำท่วม พ.ศ. 2554

ads

น้ำท่วมเมืองไทยปีนี้ (พ.ศ.2554) ดูเหมือนว่าจะหนักกว่าน้ำท่วมในปีพ.ศ.2538 อีกนะครับ แต่ปีนี้เปลี่ยนจากน้ำท่วมในภาคอีสานมาเป็นน้ำท่วมในภาคเหนือแทน โดยน้ำที่ท่วมนั้นท่วมมาจากภาคเหนือซึ่งรวมถึงจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก

น้ำท่วมเมืองไทย: เล่าเหตุการณ์ปี พ.ศ.2554

น้ำท่วมมีสาเหตุมาจากปริมาณน้ำฝนที่มากผิดปกติจากพายุนกเตนที่เข้ามาในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2554 โดยน้ำท่วมจังหวัดทางภาคเหนือก่อน จากนั้นน้ำท่วมก็ขยายลงมาตามแม่น้ำปิง ประกอบกับมีพายุเข้ามาซ้ำอีกจนน้ำได้เข้าแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นพื้นที่ภาคกลาง โดยมีน้ำท่วมในหลายจังหวัดรวมถึง พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ จนกระทั่งน้ำท่วมได้เข้ามาถึงจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี มีนบุรี และกรุงเทพในเขตรอบนอกคันกั้นน้ำ ทำให้คนกรุงเทพต่างรู้สึกตื่นตระหนกกันไปหมด ทั้งซื้อของเพื่อตุน เอารถไปจอดในที่สูงเพื่อหนีน้ำท่วม

น้ำท่วมนั้นได้ท่วมถนนสายหลักๆของประเทศอย่างเช่น ถนนสายเอเชีย ถนนพหลโยธินช่วงวังน้อย ทำให้การขนส่งเป็นไปได้อย่างลำบาก และน้ำได้ท่วมนิคมอุตสาหกรรมหลักๆในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนิคมฯโรจนะ นิคมฯไฮเทค นิคมฯนวนคร

น้ำท่วมเมืองไทย: ถนนสายหลักของประเทศ

เมื่อ 13 ต.ค. 2554 ผมได้คุยเรื่องน้ำท่วมกับดร. หลังจากที่ดร.กลับจากทำงานที่ต่างจังหวัด เมื่อดร.ได้ฟังข่าวที่น้ำท่วมถนนพหลโยธินช่วงอำเภอวังน้อย ก็พูดออกมาว่า จริงๆแล้วมันควรจะทำให้ถนนที่เป็นถนนสายหลักให้สูงกว่านี้ และควรจะมีถนนที่ใช้เป็นสายสำรองได้อีก 2 สาย: ไปทางนครราชสีมา และทางสุพรรณบุรี เพื่อที่ว่าถ้าถนนเส้นใดเส้นหนึ่งถูกตัดขาด เราก็สามารถใช้เส้นทางอื่นในการขนส่งได้ นี่ถ้าเราอยู่ในภาวะสงครามแล้วไม่สามารถใช้ถนนที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ได้อย่างนี้ ประเทศไทยจะแย่

น้ำท่วมเมืองไทย: การวางแผนประจำปี

นอกจากนั้น ดร.ยังเล่าอีกว่าได้ฟังวิทยุที่อดีตอธิบดีกรมชลประทาน นายปราโมทย์ ไม้กลัด ออกมาพูดเกี่ยวกับปริมาณน้ำปีนี้ (2554) ที่มีปริมาณมากกว่าปกติไม่มากนัก ซึ่งจริงๆแล้วทางกรมชลประทานควรจะมีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนมาก่อนหน้าที่จะน้ำฝนจะมา (อ่านเพิ่มเติม: ปราโมทย์ ไม้กลัด ไขแนวทางแก้วิกฤตน้ำท่วม ไม่เห็นจะน่าวิตกเลย…ต้องแยกพฤติกรรมน้ำให้ออก – ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง)

ประเด็นนี้ ดร.เลยเล่าให้ฟังว่า สมัยทำงานวางแผนงบประมาณที่กรมทรัพยากรธรณี จะต้องมีการวางแผนกันทั้งปี จะต้องรู้ว่าจะเข้าไปสำรวจในป่าเมื่อไหร่ จะต้องศึกษาข้อมูลฤดูฝนย้อนหลัง 50 ปี เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าจะต้องออกจากป่าเมื่อไหร่ เพราะถ้าออกมาไม่ทันจะออกจากป่าไม่ได้ และจะต้องเสียงบประมาณอีกมากมาย อีกทั้งเราจะต้องรับผิดชอบชีวิตอีกหลายชีวิตซึ่งพ่อแม่ญาติพี่น้องของเค้าก็จะต้องเป็นห่วง

ads
ads
ads
ads

Comments

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save