แผนผังแม่น้ำที่ไหลเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา

ฟังดร.เล่า: น้ำท่วมเมืองไทย 2 – ทางออก(ของน้ำใน)ประเทศไทย

ads

สวัสดีครับ วันนี้ผมมาเล่าเรื่องน้ำท่วมเมืองไทยต่อจากเมื่อวานครับ โดยวันนี้ (20 ต.ค. 2553) หนังสือพิมพ์ Bangkok Post ได้ลงรูปแผนผังแม่น้ำในภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งผมขอเอามาทำรูปประกอบบทความนี้ครับ

[2017-10-25 มีอัพเดทข้อมูลจาก @thanyakij อยู่ด้านล่างนะครับ]

น้ำท่วมเมืองไทย: สาเหตุของน้ำท่วมโคราชและวิธีแก้ไข

ข่าวน้ำท่วมในจังหวัดนครราชสีมา ทางช่องทีวีไทยเมื่อวานนี้ (19 ต.ค. 2553) ตอนค่ำ รองอธิบดีกรมชลประทานได้บอกสาเหตุของการที่น้ำท่วมในตัวเมืองโคราชนั้นเป็นเพราะมีปริมาณน้ำฝนมากผิดปกติ ประกอบกับพื้นที่รองรับน้ำน้อยลงไป ซึ่งทางกรมชลประทานก็มีตัวเลขปริมาณน้ำที่ไหลสำหรับอุทกภัยคราวนี้ และตัวเลขความสามารถในการรองรับน้ำของแม่น้ำด้วย ตรงนี้พ่อผมบอกว่า นี่ไงล่ะ น้ำท่วมเพราะพื้นที่ระบายน้ำน้อยนี่เอง แล้วถ้ามีตัวเลขแล้ว ทำพื้นที่รองรับน้ำให้เป็น 2 เท่าได้มั้ย ในเมืองนอกเค้าถึงขนาดเวรคืนที่ดินเพื่อเอามาทำคลองระบายน้ำเลยนะ (เห็นมีแต่เวรคืนเพื่อทำถนน) เป็นถึงอธิบดีก็ได้ไปเมืองนอกบ่อยอยู่แล้วนี่

น้ำท่วมเมืองไทย: แนวทางการเพิ่มทางระบายน้ำออกทะเล

 

แผนผังแม่น้ำที่ไหลเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา
แผนผังแม่น้ำที่ไหลเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มา: หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 20 ต.ค. 2553

แม่น้ำสะแกกรัง-แม่น้ำสุพรรณบุรีแล้ววันนี้ (20 ต.ค. 2553) พ่ออ่าน Bangkok Post เรื่องน้ำท่วมแล้วเรียกผมไปดูแผนที่ที่แสดงแม่น้ำสายต่างๆที่ลงมาที่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม่น้ำทุกสายจะลงมาเป็นคอขวดที่แม่น้ำเจ้าพระยา พ่อชี้แผนที่แล้วอธิบายตำแหน่งที่ควรจะทำทางระบายน้ำเพื่อปันน้ำออกไป (รูปที่ 1) ไม่ให้น้ำเข้ามาที่กรุงเทพมากเกินไปจนน้ำท่วม โดยเส้นสีดำแสดงเส้นทางที่ควรจะทำทางระบายน้ำเพิ่มเติมดังนี้

  1. ขยายจุดรวมแม่น้ำตรงช่วงจังหวัดนครสวรรค์
  2. แม่น้ำน้อย-อ่าวไทย ออกทางจังหวัดสมุทรสาคร
  3. เขื่อนพระรามหก-อ่าวไทย โดยออกช่วงจังหวัดสมุทรปราการหรือฉะเชิงเทรา

Update 2017-10-25: วันนี้ได้คุยกับ @thanyakij บนทวิตเตอร์ครับ เค้ามีข้อมูลเรื่องชลประทานในเมืองไทยแน่นมากครับ เค้าบอกว่า รูปที่ 1 ด้านบนนี้ ยังขาดเส้นทางน้ำทางตะวันออกของกรุงเทพไป 1 ชุดใหญ่เลยครับ ซึ่งตรงกับข้อ 3 ที่บอกไว้ข้างบนนี้ครับ

รูปจาก @thanyakij

ซึ่งเส้นทางน้ำนี้ จะไหลมาจากแถวเขื่อนพระรามหกครับ โดยไหลมาตามคลองระพีพัฒนศักดิ์ ซึ่งสามารถรองรับน้ำได้ราว 160-210 ลบ.ม./วินาทีคลองระพีพัฒนศักดิ์ขุดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เชื่อมเขื่อนพระรามหก เข้าโครงการชลประทานทุ่งรังสิต ไปแม่น้ำบางปะกง (ข้อมูลจาก @thanyakij https://twitter.com/thanyakij/status/923090235042365440 )


ซึ่ง @thanyakij ก็ส่งข้อมูลมาให้เยอะเลยครับ มีแผนผังคลองรังสิตที่เป็น flood way ไม่ให้น้ำท่วมสุวรรณภูมิด้วยครับ

แผนผังของคลองทางฝั่งกรุงเทพตะวันออก พร้อมปริมาณน้ำที่สามารถรองรับได้
แผนผังของคลองทางฝั่งกรุงเทพตะวันออก พร้อมปริมาณน้ำที่สามารถรองรับได้
แผนที่ แสดงคลองที่เชื่อมจากเขื่อนพระรามหก (ข้อมูลจากกรมชลประทาน)
แผนที่ แสดงคลองที่เชื่อมจากเขื่อนพระรามหก (ข้อมูลจากกรมชลประทาน)

นอกจากนี้ @thanyakij ยังบอกอีกด้วยว่า เส้นทางที่เสนอไป ข้อที่ 2 ทางรัฐบาลเองก็มีโครงการจะขุดคลองที่เชื่อมจากแม่น้ำน้อยไปอ่าวไทย โดยนโยบายนี้คุณบรรหารเป็นตัวตั้งตัวตี จนมาสมัยคุณยิ่งลักษณ์ ก็ได้คุณธีระ วงศ์สมุทร (พรรคชาติไทยพัฒนา) ซึ่งเป็นรัฐมนตรีเกษตรในสมัยนั้นเป็นคนดูแลโครงการนี้ แต่โครงการก็พับไปเพราะโครงการตัดผ่านหมู่บ้านจัดสรรมากมายครับ

คลองที่จะขุด (เส้นสีแดงหนา) เชื่อมแม่น้ำน้อยไปอ่าวไทย
คลองที่จะขุด (เส้นสีแดงหนา) เชื่อมแม่น้ำน้อยไปอ่าวไทย [รูปจาก @thanyakij]

ทีนี้ พอโครงการเดิมทำไม่ได้แล้ว กรมชลประทานก็ได้ไปทำการศึกษาใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ฝั่งตะวันออก ขยายคลองอนุศาสนันท์ คลองระพีพัฒน์ คลอง13 คลอง 14 คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ให้ได้ 1000 ลบ.ม./วินาที
2. คลองบางบาล-บางไทร บายพาสเกาะเมืองอยุธยา (ขุดเพิ่ม)
3. ฝั่งตะวันตก คลองแม่ปิง-แม่กลอง 1000 ลบ.ม./วินาที (ขุดเพิ่ม)

 

การขุดคลองตามแนวทางของกรมชลประทาน 3 เส้น (เส้นประ)
การขุดคลองตามแนวทางของกรมชลประทาน 3 เส้น (เส้นประ)

 

คลองระบายน้ำฝั่งตะวันออก ตามแผนของกรมชลประทาน
คลองระบายน้ำฝั่งตะวันออก ตามแผนของกรมชลประทาน

 

เส้นทางระบายน้ำบายพาสผ่านเกาะเมืองอยุธยา
เส้นทางระบายน้ำบายพาสผ่านเกาะเมืองอยุธยา

 

โดยสรุปคือแนวตามข้อ 2 นั้นทำไม่ได้แล้ว กรมชลประทานเลยศึกษาแนวใหม่เป็น บายพาสเกาะเมืองอยุธยา และ แม่ปิง-แม่กลอง

ส่วนข้อ 3 ก็ขยายความจุให้ได้เทียบเท่าแม่น้ำป่าสัก รายละเอียดอ่านได้จากรายงานในลิ้งก์นี้ครับ http://www.publicreport.opm.go.th/uploading/uploadfile/project_file/201472293931%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8.pdf

 

ต้องขอขอบคุณข้อมูลจาก @thanyakij มากๆเลยครับ

 

น้ำท่วมเมืองไทย: ส่งท้าย

พ่อยังเสริมอีกว่า กรุงเทพฯเป็นพื้นที่ราบลุ่มต่ำ มันง่ายอยู่แล้วที่น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ ก็เล่นเอาพื้นที่ทำนามาสร้างตึกมันก็ไม่มีที่ให้น้ำไปสิ ซึ่งการจะแก้น้ำท่วมโดยทำให้พื้นที่กรุงเทพสูงขึ้นมันทำไม่ได้อยู่แล้ว ดังนั้นจึงควรจะแก้น้ำท่วมโดยการผันน้ำออกไปทางอื่นดีกว่า แล้วต้องทำทำนบกั้นดินหล่นไปในทางระบายน้ำด้วยนะ อย่างใน Zermatt, Switzerland ลูกก็เคยไปเห็นแล้วนี่ ซึ่งผมขอจบไว้ตรงนี้กับรูปสวยๆจาก Zermatt เลยแล้วกันนะครับ

Central Zermatt and Matter Vispa river, Wallis, Switzerland, 2012 August

ads
ads
ads
ads

Comments

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save