Your cart is currently empty!
The Next Resignment by axdaman
วันนี้อยากจะรวบรวมทวีตของคุณเอ (@axdaman) มาเป็นบทความให้อ่านกันได้ยาวๆนะครับ เป็นแนวคิดการทำงาน ของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย คุณเอเองก็ทำงานมาหลายที่แล้ว ในแต่ละที่ก็จะมีพัฒนาความสามารถของตัวเองให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมาขึ้น มีมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น เชิญอ่านกันได้เลยครับ
update: ตอนนี้คุณเอได้เปิดเฟสบุ๊คเพจใหม่แล้วนะครับ ตามไปกดไลค์กันได้เลยนะครับผม ^^ -> https://www.facebook.com/axdaman
The Next Resignment by @axdaman
ไม่มีงานไหน ตำแหน่งไหนที่ต้อยต่ำ ทุกงานล้วนมีคุณค่าและสำคัญด้วยกันทั้งนั้น คนที่คิดว่างานไหนคนไหนนั้นต้อยต่ำ ตัวมันน่ะแหละที่ต่ำต้อย
ทำงานมาตั้งนานไหงไม่ก้าวหน้าไม่ไปไหนซะทีวะครับ อาจมีสองสาเหตุ คือ ท่านห่วยจนไปไหนไม่ได้ หรือท่านเก่งจนไม่มีใครแทนได้น่ะสิ : )
ทำงานมาแล้วปีนี้ก็ปีที่ 17 อยากจะบ่องตง ว่าการขึ้นเงินเดือนที่เยอะที่สุด คือการลาออกไปทำที่ใหม่จ้ะ เพราะเงินเดือนขึ้นปกติ 3-10% นะหนูๆ
เผลอแป๊บเดียว อายุปาเข้าไปจะ 40 ซะแล้ว … เวลาหมดไปเร็ว และสั้นมากในแต่ละวันจริงๆ
ผมหมายถึงที่เดิมเงินเดือนขึ้น 3-10% ต่อปีครับ เปลี่ยนงานที่ใหม่ควรไม่ต่ำกว่า 30-100% จากของเดิมนะครับ ^^
ทำงานเต็มที่สุดฝีมือ เงินเดือนขึ้นแต่ละปี ขึ้นตาม Cost of living เท่านั้นประมาณ 3-10% ที่ไหนให้ 10% ในผลระดับ A ถือว่าโคตรป๋าแล้วนะครับ
เริ่มต้นเงินเดือน 15,000 บาท ทำที่นี่ไปสัก 3-4 ปี ท่านจะพบว่า มันจะไม่พอกินเอา ไว้มาอ่านว่าจะพัฒนาตัวเอง ให้ก้าวหน้าและมีรายได้มากอย่างไร
ก่อนจะอ่าน ถามตัวเองก่อนนะครับ ทำงานมากี่ปีแล้ว มีความสุขไหม ก้าวหน้าไหม เงินทองพอใช้ไหม ได้พัฒนาตัวเองไหม แล้วค่อยอ่่านสิ่งที่ผมจะเล่าครับ
คนที่ลาออกไปเป็นเถ้าแก่ เป็นนายตัวเอง พวกท่านเก่งมากผมขอชื่นชม แต่ไม่ใช่ทุกคนทำแบบนั้นได้ แล้วคนส่วนใหญ่จะทำยังไงได้?
ก่อนถึงการลาออกครั้งต่อไป กลับมาที่การทำงานเสียก่อน ขอพูดรวมถึงทั้งน้องๆจบใหม่ ที่กำลังจะออกมาเจอสังคมแห่งการดัดจริตตอแหลและกระแดะเต็มรูปแบบ
ต้องถามว่าไอ้คณะที่เราเรียนน่ะ ถ้าไม่ใช่วิชาชีพเฉพาะทางอย่างแพทย์ เราวางแผนตั้งแต่แรกหรือเปล่าว่าจะเป็นอะไรถึงเลือกเรียนคณะนี้ ?
ในสมัยผม เอ็นทรานซ์ตอนปี 2535 สมัยนั้นนิเทศศาสตร์ฮิตมาก คิดอะไรไม่ออกก็อันนี้ล่ะ ผลจากกระแส ทำให้อีก 5-6 ปีหลังจากนั้น บุคลากรล้นตลาด..
แน่นอนครับ ผมเองก็ดัดจริตไปเรียนนิเทศกับเค้าด้วยเหมือนกัน ทั้งๆที่ตัวเองจบม.6 วิทย์-คณิต ซะด้วยซ้ำ จบมาแบบกระท่อนกระแท่นมาก ตกวิทย์เรียบ..
เรียกว่าเรียนตามกระแส เรียนให้จบ โดยไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะเรียนไปทำอัลลัย จบมาแล้วจะทำอะไร ผมไม่แน่ใจว่าตอนนี้ยังเป็นแบบนั้นไหมนะครับ
ดังนั้นใครจะสอบตอนนี้ ใครเรียนอยู่ ใครจะจบ วางแผนหรือยังครับ จะไปมาหากินอะไรกัน ? คนจบพร้อมกันกับเรามีกี่คน จะแย่งงานกันแค่ไหน ?
เอาล่ะ เมื่อเลือกจะทำมาหากินเป็นลูกจ้างเค้าแล้ว ก็ว่ากันเลยดีกว่าครับ ข้อแรกท่องไว้ก่อน เป็นลูกจ้างไม่รวยครับ แค่พออยู่ได้เท่านั้นนะ
แล้วจะอยู่อย่างไรให้มีความสุขล่ะ ผลตอบแทน การพัฒนาความสามารถ โอกาสในการเติบโต ความสุขในงานที่ทำ บรรยากาศ ล้วนแต่สำคัญด้วยกันทั้งนั้นครับ
ผลตอบแทน การพัฒนาความสามารถ โอกาสในการเติบโต ความสุขในงานที่ทำ บรรยากาศ ล้วนแต่สำคัญด้วยกันทั้งนั้นครับ
ในชีวิตการทำงาน ไม่ควรไปตั้งเป้าว่าเงินเท่านั้นที่สำคัญที่สุด ส่วนประกอบอื่นก็สำคัญครับ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินสำคัญครับ
สมติเราเป็นนักศึกษาจบใหม่ ในบริษัทที่ผมทำงานอยู่ ถือว่าเป็น Top ten ของบ.ที่มีคนอยากเข้าทำงานด้วย มีพนักงานอยู่สักสองหมื่นได้ครับ
เงินเดือนน้องๆที่จบใหม่ น่าจะประมาณ 15,000 – 18,000 ประมาณนี้นะครับ หมายถึงพนักงานบริษัทตำแหน่งต่างๆไม่ใช่วิศวกรอะไรพวกนี้นะ
ถ้าเราทุ่มเททำงานเต็มที่ ปกติแล้วการประเมินผลตอบแทนในแต่ละปี ถ้าเป็นเกรด A เงินเดือนคงขึ้นสัก 6-10% แล้วแต่บ.นั้นครับ มากกว่านี้ก็อาจมี
การเลื่อนตำแหน่งในบ.นั้นๆ ส่วนใหญ่เงินเดือนขึ้นประมาณ 7 – 20 % อาจมีมากกว่านี้แล้วแต่องค์กร เห็นภาพหรือยังครับ ผ่านไปห้าปีเงินเดือนกี่บาท ?
เอ๊ะ แล้วพวกที่เงินเดือนเป็นแสน ผมเคยรู้จักที่เป็นลูกจ้างมากสุดที่เคยคุยด้วยก็คงสัก 7-8แสน แล้วเค้าทำได้ยังไงกันล่ะ ?
ผมเคยรู้จักที่เป็นลูกจ้างมากสุดที่เคยคุยด้วยก็คงสัก 7-8แสน แล้วเค้าทำได้ยังไงกันล่ะ ?
วันนี้จะมาแนะนำทั้งหมดแบบงูๆปลาๆครับ มันมีอะไรซ่อนอยู่ที่เราคิดไม่ถึงอยู่อีกมากในการเดินไปถึงในระดับนั้นได้นะ
เงินเดือนเป็นความลับส่วนบุคคลระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ดังนั้นไม่ต้องถามว่าผมมาเล่านี่ ผมได้เงินเดือนกี่บาทนะครับ ขนาดแฟนผมยังไม่เคยทราบเลย
และที่สำคัญในชีวิตคนทำงาน สนใจว่าความสามารถเราจะได้เงินเดือนกี่บาท ดีกว่าสนใจหรือคอยเมาท์มอยว่าใครมีรายได้เท่าไหร่ดีกว่าครับ
ท่านอาจไม่ทราบว่าคนที่เสียภาษีขั้นสูงสุดที่ 37% หรือเงินรายได้ส่วนบุคคลต่อปีเกิน 4ล้านบาท หาร12ก็เงินเดือน3.5แสนบาทขึ้น ในไทยมีถึง3หมื่นคน!!
การพัฒนาความสามารถตนเอง
ผมเคยทำงานโฆษณา เป็น Producer รายการ TV / เป็น Creative ของ Organizer & Exhibition และตำแหน่งสุดท้าย Creative director ก่อนเปลี่ยนสายอาชีพ
ตอนนี้ผมเคยทำงานส่วนของ Brand / Marketing / Retail / Call center / Organization Drvelopment / CRM / Sale / Social network & online community
ดังนั้นผมเลยพอทราบมากกว่าท่านอื่นหน่อยครับ เพราะมีโอกาสได้ทำอะไรและเรียนรู้หลายๆอย่าง
ส่วนประกอบที่สำคัญของการพัฒนาตนเองคือการเรียนรู้ ผมเองเคยถูกสอนมาว่า การก้าวหน้าในสายอาชีพ มันมีความรู้ความชำนาญสองแบบ คือแนวดิ่ง และแนวราบ
แนวดิ่งคือรู้ลึกในเรืี่องนั้นๆอย่างถ่องแท้ เป็น expert เฉพาะด้าน แนวราบคือรู้หลายๆอย่าง แต่ผมเสนอว่าเราควรจะอยู่ในกลุ่มคนแนวทะแยงครับ
ผมเสนอว่าเราควรจะอยู่ในกลุ่มคนแนวทะแยงครับ
คนสองกลุ่มแรกมีเพียบ แต่คนที่รู้ลึก รู้จริง และรู้เยอะ คงจะมีแต้มต่อมากกว่าคนอื่นนะครับ จึงต้องเรียนรู้หลายๆอย่างมากไปกว่างานหรืออาชีพตน
ลองนึกแบบนี้ครับ สมติเราจบบัญชีมา ทำงานแรกตำแหน่ง Officer ในสายนี้คนตำแหน่งสูงสุดคือ Chief Financial Officer หรือ CFO เค้าทำได้ยังไงล่ะ ?
เค้าจะรู้แค่บัญชีอย่างเดียวหรือเปล่า จนขึ้นมาเป็น CFO ได้ ? ดูจากอายุน่าจะไม่เกิน 40-45 เราทำงานตอน 22 อีก 18 ปีเราจะเป็น CFO ต้องทำยังไง
คนที่เป็นผู้บริหารระดับนี้มี Skill พื้นฐานนอกไปจากความชำนาญในอาชีพตน
พนักงานบริษัทจบใหม่ เข้าบรรจุเงินเดือนตั้งต้น 15,000 บาท ผ่านไปสักไม่ถึง 20 ปี เค้าได้เงินเดือน 500,000 ทำได้อย่างไรกัน จะมาเล่าให้อ่าน
ในไทยมีคนตั้ง 30,000 คนที่เงินเดือน 350,000 บาทขึ้นไป ผมก็เลยได้มีโอกาสรู้จักหลายท่านครับ ล้วนแต่เป็นลูกจ้าง เจ้าของไม่ตั้งสูงหรอก ภาษีอาน
อาชีพที่ผลตอบแทนสูงๆ รายได้หลักแสนขึ้น พอจะทราบว่ามีดังนี้ คือ แพทย์ นักบิน และ ผู้บริหารครับ เลือกเป็นตามอัธยาศัยนะ
แล้วเค้าทำกันอีท่าไหน ถึงไปเป็น CEO / COO / CFO / CMO ฯลฯ รับจ้างกันได้ บางคนทำงานมาไม่ถึง 10-20 หลังจากจบด้วยซ้ำ ?
อันดับแรก คนพวกนี้ไม่ได้มาถึงขนาดนี้ จากการไต่บันไดขั้นแรกของบริษัทอย่างแน่นอนครับ จาก Officer มาเป็น MD ถ้าไม่ใช่ลูกเจ้าของ ฝันยังยาก
ยิ่งถ้าทำในองค์กรขนาดมหึมา พนักงานเป็นพันเป็นหมื่น จะไต่ขึ้นมาเป็นผู้จัดการยังใช้เวลาพอสมควรเลยครับ ยกเว้นจะเทพขนาดเลื่อนตำแหน่งทุกปี
เงินเดือน 15,000 บาท ขึ้นเงินเดือนในแต่ละปี อยู่ที่เดิมไปสัก 3 ปี ผมว่าได้ไม่น่าถึง 20,000 บาทครับ.. อันนี้ไม่นับพวกที่มี incentive นะ
นี่ล่ะครับ เป็นที่มาของ The next resignment อยากเงินเดือนขึ้นมากกว่าอัตรา Cost Of Living ในแต่ละปี ก็ลาออก เปลี่ยนบริษัทสิครับ
แต่ช้าก่อนครับ อย่าพึ่งไปถึงตรงนั้น เพราะก่อนจะลาออกนั้น ท่านมีความรู้ความชำนาญในงานนั้นดีพอหรือยังที่จะเดินออกจาก comfort zone ไปสู้คนอื่น
บางคนทำงานนั้นมา 5 ปี บ่นว่าทำไมไม่ก้าวหน้าวะสัส ลองถามตัวเองซิว่า เราพัฒนางานนั้นมาเรื่อยๆจนถึงวันนี้ห้าปี หรือเราทำปีแรกแล้วทำซ้ำไปห้าปี ?
เพราะเห็นบางคนทำมาเป็นสิบปี มาบ่นให้ฟัง ผมก็ลำบากใจจะไปบอกเค้าว่า คุณทำงานแค่ปีเดียว แต่ทำซ้ำมาถึง 10 ปีต่างหาก มันก็จะหักหาญน้ำใจกันเกินไป
การทำงาน คือการจ้างเราให้มาเรียนรู้ครับ อาจจะเป็นสิ่งที่รู้หรือไม่เคยรู้ไม่เคยทำมาก่อน ก็เหมือนการลงทะเบียนสมัยเรียนแต่เราได้ค่าเรียนด้วย
การทำงานต้องเจอปัญหา อุปสรรค อย่าบ่นครับ เค้าจ้างมาแก้ ป้องกัน อย่าไปสร้าง แล้วก็อย่าไปยอมแพ้มัน ถ้ามันง่ายราบรื่น ไม่ต้องจ้างเราก็ได้
ดังนั้นตรวจเช็คเสียก่อนครับ งานในหน้าที่ๆเรารับผิดชอบอยู่นั้น เราทำมันได้ดีหรือยัง มีทักษะและความชำนาญมากแค่ไหนแล้ว พอจะไปสู้คนอื่นได้ไหม
การทำงาน คือการจ้างเราให้มาเรียนรู้ครับ
The Next Resignment – หางานใหม่
พร้อมแล้ว ก็ไปหางานใหม่กันครับ อย่าไปลาออกก่อนได้งานเชียวนะ สมัยผมหนุ่มๆ มั่นใจว่าตัวเองเจ๋ง ผลคือตกงานอยู่สองปีเต็ม ยังกับกินยาขับงาน…
หลายสิ่งไม่ควรทำในที่ทำงาน เช่น การอยากรู้เงินเดือนคนอื่น รู้ไปเราก็ไม่ได้เงินเดือนขึ้นนะครับ เค้าได้มากกว่าก็อิจฉา ได้น้อยกว่าก็จะเผลอบอก
เปิดเว็บสมัคร/หางานในที่ทำงาน นี่ถือเป็นอนันตริยกรรมของชีวิตคนทำงานเลยทีเดียวครับ เอาหัวแม่เท้าพิจารณาแล้วกันว่าสมควรไหม
บ่นกับคนอื่นว่าจะลาออก จะบ่นไปเพื่ออะไร จะให้เค้ารั้งไว้รึไง ท่องไว้ไม่มีเรา บริิษัทเค้าก็ไม่เจ๊งครับ เราออกเค้าก็หาคนใหม่มาทำแทนอยู่ดี
เพื่อนที่รักใคร่ในที่ทำงาน คนที่ห้อมล้อม เราออก ผ่านไปสักอาทิตย์ ท่านจะรู้สึกเหมือนกับว่า เราไม่เคยอยู่ในชีวิตเค้า เชื่อผมเถ๊อะ เรื่องจริง
เมื่อตัดสินใจจะลาออก ก็หางานครับ สมัยท่านโชคดีมาก สมัยผมต้องซื้อ นสพ.สมัครงาน แล้วเขียนจดหมายติดอภิวัชร์(แสตมป์)… กะว่าเอาฮาเลยนะเนี่ย
ทำงานนานแค่ไหนถึงจะลาออกดี อันนี้บอกไม่ได้ครับ ต้องถามว่าตัวเองเก่งเกินกว่าผลตอบแทนที่ได้รับหรือยังล่ะ ? ท่านควรจะทราบตัวเองดี
แต่ระวังหน่อย พวกกระโดดเปลี่ยนงานบ่อยๆหลายๆที่ในเวลาไม่นาน เพื่อยกเงินเดือนขึ้นสูงๆ หลายบริษัทไม่จ้าง Job hopper พวกนี้ครับ บ.ผมก็ด้วยนะ
เพราะคนพวกนี้จะอยู่เพื่อเงินเท่านั้น ไม่ได้คิดถึงหน้าที่และผลของการทำงานให้กับองค์กรเลย ขาดความภักดีต่อบ.ด้วยครับ ไม่ดีนะ อย่าทำ
ผมทำงานมาแล้ว 17 ปี ลาออกเปลี่ยนงานมาแล้วทั้งหมด 5 ที่ครับ ในสองที่นี้มีเกิน 4 ปีอยู่สองบริษัท มากน้อยท่านพิจารณาเอาเองครับ
แล้วจะลาออกไปทำงานอะไรดีล่ะ ? ทำงานหน้าที่เดิมแต่เปลี่ยนบริษัทดีไหม เอ๊ะ หรือว่าจะย้ายไปทำสาขาอื่นเลยดี ? อันนี้มีผมข้อแนะนำครับ
ถ้าท่านจะทำอย่างอื่น ที่ไม่ใช่งานที่ทำในที่เก่า สมติท่านทำบัญชี ไปสมัครที่ใหม่ตำแหน่งสื่อสารการตลาด หรือ ฝ่ายบุคคล ท่านว่าผลมันจะเป็นยังไง ?
แต่ไม่ใช่ทำไม่ได้ครับ ถ้าท่านนำเสนอว่าท่านมีทักษะด้านนั้นด้วย ยกตัวอย่างเป็นพนักงานบัญชี แต่ทำ fanpage อะไรสักอย่างมีคนหลักแสน เป็นบลอกเกอร์
แบบนี้ยังพอจะมีน้ำหนักไปต่อรอง ว่าเรามีทักษะพิเศษมากไปกว่าการดูงบดุล งบกำไรขาดทุน งบการเงิน งบกุ้ง ( อันหลังนี่รู้จักกันไหม ? )
ดังนั้น ท่านเลือกทำงานแรกอะไร มันมักจะเป็นตัวตั้งต้นของการเติบโตในสายนั้นๆแหละครับ นี่ไม่นับประเภทงานบริการอย่าง โรงแรม หรือร้านนะครับ
The Next Resignment – เรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี
แล้วเปลี่ยนงานใหม่ เรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี ? มากขึ้น หรือน้อยลงดีนะ หรือเรียกแม่งสัก 100% จากที่เดิมเลยดีไหม จะได้เยอะๆ
ในการเปลี่ยนงานนั้น ตามทั่วไป ท่านควรจะได้ผลตอบแทนสูงกว่าที่เก่า รวมไปถึงตำแหน่งด้วย ในกรณีที่ท่านมีเป้าหมายเพื่อการเติบโตและผลตอบแทน
แต่หากท่านไปที่ใหม่ รายได้และตำแหน่งน้อยกว่าเดิม นั่นแปลว่าท่านคงอึดอัด และมีปัญหาอะไรสักอย่างกับที่ทำงานเก่า จนต้องเปลี่ยนที่ละมังครับ
ก่อนอื่นต้องทราบว่าแต่ละบริษัทนั้นมีโครงสร้างไม่เหมือนกันครับ ตำแหน่ง และ ฐานเงินเดือนก็แตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ เราควรต้องทราบบ้าง
รูปแบบของตำแหน่ง ถ้าเป็นบริษัทฝรั่งแท้ๆจะมีขั้นน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็น Officer – Manager – VP ซึ่งจะแยกระดับไปเป็น SVP – EVP อีกครับ
ดูเหมือน VP ของธนาคาร จะไม่ใช่ตำแหน่งสูงมากนะครับ อย่าเอาไปปนกันล่ะ แต่ถ้าเป็นบางบริษัทก็จะมีรูปแบบอย่างนี้ครับ
- Officer
- Senior Officer / Supervisor
- Manager
- Expert/Senior Manager/Assistant Director
- Deputy Director
- Director / Senior Director
ในระดับการทำงานบริหาร เมื่อต้องเป็นหัวหน้าคนเท่ากับท่านก็เป็นแล้วล่ะครับ ส่วนสูงกว่า Director จะเป็นระดับ MD / CxO อย่าง COO / CMO CFO ครับ
อย่างผมยกตัวอย่างสักอันนึง VP ของ Ais คงจะเท่ากับ Director ของ TRUE แต่ VP ของธนาคาร อาจจะเท่ากับ Assistant Director เท่านั้นครับ
ดังนั้นก่อนจะไปทำงานที่ไหน ศึกษาโครงสร้างเค้าก่อนด้วยนะครับ ว่าเค้าบริหารกันยังไง กลับมาว่ากันต่อเรื่องการเปลี่ยนงาน
การขอเงินเดือนที่ใหม่ ไม่มีสูตรตายตัวครับ ว่าจะเรียกมากกว่าเดิมเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับความพอใจที่จ่ายได้ของคนจ้าง ความสามารถเรา ความต้องการเรา
ซึ่งนั่นรวมไปถึงโครงสร้างเงินเดือนของบริษัท วิชาชีพที่เราสมัคร การแข่งขันของตลาด และปัจัยอื่นๆอีกมากมาย ผมยกตัวอย่างแบบนี้แล้วกันครับ
ตัวเลขกลมๆของผม ถ้าจะย้ายงาน ควรเสนอมากกว่าที่ได้รับ 35-50% ครับ แต่ถ้าท่านจะลองเรียก 100% ดูก็ตามใจครับ แล้วแต่ท่าน
สมติผมเงินเดือน 15,000 บาทตอนนี้ ถ้าผมจะเปลี่ยนงาน ผมจะขอเงินเดือน 20,000 – 22,500 บาทครับ การดูอีกอย่างว่าที่เราขอมัน Over ไปไหมดูง่ายๆครับ
ใน CV/Resume มันจะให้กรอกเงินเดือนปัจจุบัน และเงินเดือนที่คาดหวัง ก็ใส่เข้าไปครับ มีคนเรียกสัมภาษณ์แปลว่าตัวเลขนั้นพอรับได้ถึงเรียกเราไปคุย
ผลตอบแทน มันอยู่ที่ประเภทสาขาที่เราเรียนมา ความสามารถของเรา ประเภทธุรกิจนะครับ ดังนั้นใครยังเรียนอยู่ยังไม่จบ ถามตัวเองซิทำไมเรียนอันนี้
ผมเห็นคนมากมายหลายคน ที่เรียนระดับมหาวิทยาลัยเพื่อให้จบเท่านั้น อยากให้คิดใหม่ พวกท่านจบกันออกมาแต่ละปีมีกี่คน แล้วมีกี่มหาวิทยาลัย
สมมติจบนิเทศมาในปีนี้คณะเดียวทุกม.สัก 3,000 คน มันมีบริษัทที่มีความต้องการหมดไหมล่ะในสายนี้ ? บางที่ไม่ได้รับคนมากนักขนาดเป็นบ.ใหญ่
คิดไว้ก่อนเลย จะเรียนอะไร จะจบไปทำมาหากินอะไร จะเติบโตอย่างไร ผมเป็นคนนึงในยุคเก่าที่เรียนแค่ให้จบ แต่เกือบ 20ปีที่แล้วยังไม่สาหัสแบบตอนนี้
มีน้องคนนึงถามได้ดีมากครับ คือถามว่ามหาวิทยาลัยที่จบมามีผลต่อการเข้าทำงานไหมครับ คำตอบของผมคือ… ทั้งมีและไม่มีครับ
ในบางบริษัท ชอบมากที่จะรับคนจบจากมหาลัยสีหวานแถวสามย่าน อันนั้นก็ไม่ว่ากันครับ จริงๆแล้วน่าจะไปเปิดบริษัทในมหาลัยเลยจะดีกว่า LOL
แต่กับบ.ที่ผมทำงานอยู่ หรือผมที่สัมภาษณ์คนมาสัก 200-300 คนแล้ว ( ผมเป็น BU head ไม่ใช่ HR ) มหาลัยที่จบไม่มีผลกับการตัดสินใจเข้าทำงานครับ
แต่พิจารณาจากคณะที่จบ กิจกรรมที่ทำ และความสามารถที่มีครับ ผมเองจบจาก สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา คณะนิเทศศาสตร์ เอกวารสาร – วิทยุโทรทัศน์ จบปี39
ตอนที่ผมเข้าเรียน ยังมีสถานะวิทยาลัยครูวนสุนันทาเลย ก็ไม่เห็นจะแปลกอะไรนะครับ ไปทำงานที่ไหนเค้าก็รับ และเติบโตมาจนถึงตอนนี้ได้นะ
ดังนั้นถ้าท่านไปเจอบริษัทที่ว่ากันว่าสนใจแต่คนจบมหาลัยสีหวานอย่างบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่หนึ่ง ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปสมัครครับ เลือกดูเอาด้วยนะ
แต่หลายที่โดยเฉพาะ Telecom ผมไม่เห็นว่าเค้าจะสนใจว่าจบจากที่ไหนนะครับ มันขึ้นอยู่กับคนที่สัมภาษณ์ท่านด้วย เจอพวกเขียดในฝาจีบโค้กก็ซวยหน่อย
จบจากไหน จบอะไร มีผลต่อการทำงานไหม ? ท่านประธานธนินทร์จบป.4 ตอนนี้รวยสุดในไทยมีลูกน้องสัก 2-3แสนคนได้
คุณ ตัน ภาสกรนที จบม.3 เป็น CEO ของธุรกิจใหญ่ เป็นนักขายและการตลาดที่หาคนเทียบเคียงได้ยาก ทั้งใจถึงและเข้าถึงใจ
นี่แค่ตัวอย่างบางอันครับ อ่านแล้วไปถามตัวเองสิ ว่าจบจากที่ไหน จบอะไรแล้วจะโตได้ไหม ถ้าบริษัทเชื้อเพลิงมันจะขายน้ำมันสีชมพูก็ช่างแม่งสิ
คุณไปทำตัวให้เก่ง ไปพัฒนาตัวเองให้มากๆ ท่องเอาไว้แบบคำของคุณใบพัด เออกูไม่เก่งหรอก แต่กูพัฒนาได้ !!!
อย่ามัวไปนั่งน้อยอกน้อยใจ กูแม่งจบจากที่ไม่ดัง สีไม่หวาน สีกูไม่ได้ผสม จะบอกอะไรให้ มีแต่ไอ้พวกขี้แพ้และขี้แยเท่านั้นที่แม่งคิดแบบนี้ครับ
เอาสิ่งทีี่เค้าสบประมาท สิ่งที่เค้าดูถูก ทำให้เต็มที่ครับ แล้วเอาความสำเร็จไปฟาดหน้าแม่ง ดูซะ กูตำแหน่งนี้ รายได้เท่านี้ มึงทำได้ไหมวะครับ
จะต้องให้กำลังใจกันแบบอาจารย์เฉลิมชัยกันอีกทีไหมครับ ? จัดไปเบาว์ๆ
เพราะมึงมันกระจอกไง ถึงคิดแบบนีี้ไม่ไปไหน มึงมัวแต่ท้อแท้แต่ไม่ได้พยายาม มึงมัวแต่รอโอกาสแทนที่จะแสวงหา ไป ไอ้เหี้ย ไปสู้เค้า ไอ้สัส !!
Stop saying i wish and start saying i will !!!! ไปทำ สู้เค้า คนเหมือนกัน ให้รู้ไปสิวะครับ ว่าเราจะเอาชนะเค้าไม่ได้ !!
ตกลงผมเป็นอะไรกันแน่วะครับเนี่ย นักการตลาด นักบริหารแบรนด์ นักบริการ นักขาย นักโฆษณา นักสร้างแรงบันดาลใจ ท่านรู้สึกยังไงครับ ?
ไม่ได้ถามให้ท่่านมาชาบูผมเมพขริงๆ แต่ถามเพื่อให้ท่านคิดได้ว่าผมทราบหลายอย่างจริง ซึ่งนั่นเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ผมเติบโตครับ คือแนวทะแยง
แนวดิ่งรู้ลึก แนวกว้างรู้หลายอย่าง แนวทะแยง รู้หลายอย่างและยังลึกอีก ผมก็ยังไม่ใช่นะ แค่พยายามเรียนรู้และจะเป็น
ลาออกไปเป็นลูกจ้าง ผลตอบแทนท่านดีขึ้นครับ แต่ยังไงก็ไม่รวย ต่อให้ท่านได้เงินเดือน 5-6แสนก็เถอะ มีโอกาสลาออกไปเป็นเถ้าแก่ดีกว่านะครับ
คนเรา มักจะมองเห็นความไม่ดี ข้อบกพร่องของคนอื่น แต่มักมองไม่เห็นข้อเสียและบกพร่องของตัวเอง นั่นเพราะเราไม่มองหาและไม่เคยคิดจะยอมรับมัน
To break all the rules, you must master them.
ไม่มีสูตรตายตัวว่าท่านจะเรียกที่ใหม่เท่าไหร่ครับ และต้องทำงานนานแค่ไหนถึงจะลาออกได้ เอาว่าอยากขยับขยายก็ย้ายที่ดีกว่านะครับ แต่ไม่ควรสั้นนัก
การเปลี่ยนงานควรตั้งค่าตอบแทนไว้มากจากเดิม 35% – 50% แล้วแต่ประเภทธุรกิจและงานของเราครับ เรียก 100% ก็ได้ถ้ามั่นใจมากพอนะครับ
แต่ตัวเลขที่ผมบอก ไม่ได้แปลว่าท่านจะได้ครับ มากไปเค้าก็ไม่เรียกท่านสัมภาษณ์เท่านั้นเอง ดูง่ายๆครับ พวกเว็บสมัครงานสารพัดมันให้กรอกอยู่แล้ว
ดังนั้นอยากก้าวหน้าและเติบโต ต้องลาออกไปทำที่ใหม่เมื่อเรามีความสามารถแล้ว การหวังเติบโตในองค์กรนั้นๆในด้านรายได้ เป็นเรื่องยากครับ
ผมยกตัวอย่าง การเลื่อนตำแหน่งมันมีเงื่อนไขของฝ่ายบุคคลอยู่แล้วว่าผลการประเมินเท่าไหร่ และเงินเดือนขึ้นเท่าไหร่ครับ
โดยปกติเลื่อนตำแหน่งก็ 7% – 10% ตามมาตรฐานครับ แล้วแต่ที่ จะเห็นว่าตัวเลขนี้อาจไม่สัมพันธ์กับความรับผิดชอบที่มากขึ้นนัก
ผมยกตัวอย่างแบบนี้ นายเอทำงานมาจากตำแหน่งพนักงานเงินเดือน 15,000 บาท ทำงานมา 6 ปีเลื่อนตำแหน่งมาเป็น Supervisor และ manager
ถ้าเป็นปกติ นายเอไม่น่ามีรายได้เกิน 40,000 บาทในตำแหน่งผู้จัดการครับ ในขณะที่ตำแหน่งผู้จัดการรับเข้ามาใหม่ เพดานเงินเดือนอาจจะแตะ 80,000
แน่นอนครับ ด้วยโครงสร้างการบริหารมันคงจะไปยกคนเก่าให้ขึ้นมาแบบนั้นไม่ได้ เพราะนั่นคือการขึ้นเงินเดือน 100 – 200 % เลยทีเดียว คงมีแต่ยากมาก
ดังนั้น อยากก้าวหน้า ก็ลาออกครับ ไปพิสูจน์ตัวเองในที่ใหม่ แต่ไปแล้วให้ที่เก่าเค้ารัก เค้าสรรเสริญ ไม่ใช่ดีใจที่มึงไปซะได้
The Next Resignment – Retention
ทีนี้พอลาออก สิ่งที่จะตามมาในภาษา HR คือ retention ครับ คือการยื่นเงื่อนไขให้อยู่ต่อ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม อันนี้ต้องพิจารณา
มันต้องพิจารณาว่าท่านออกเพราะอะไร งานที่ท่านทำเป็นอย่างไร บรรยากาศในการทำงานดีไหม และทำไมท่านถึงเดินออกจากที่เก่า ? ท่านคงตอบได้คนเดียว
โดยปกติการ retention จะให้ตัวเลขพอๆกัน หรือน้อยกว่าที่ใหม่ที่ท่านแจ้งเล็กน้อย แต่ก็มีเพดานอยู่ว่าเท่าไหร่ ส่วนมากที่เจอผมว่า 25% ก็แย่แล้ว
ดังนั้นถ้าท่านเงินเดือน 50,000 บาท ที่ใหม่ให้ท่าน 100,000 บาท ผมว่ายากที่ HR จะเสนอได้แม้จะเสียดายก็ตาม ยกเว้นนายของท่านไปคุยกับเจ้าของครับ
แต่ถ้าท่านออกมีปัญหากับนายของท่าน อันนี้หมดหวังแหงๆ ยกเว้น Business unit อื่นจะเห็นค่าท่านแล้วขอไปทำงานด้วย แล้วไปไฟท์ให้ท่านครับ
ก็อยู่ที่ตัวท่านแล้วครับ ว่าท่านสร้างคุณค่าให้กับตัวเองและองค์กรได้มากแค่ไหนครับ การตัดสินใจจะไปหรืออยู่ต่อคือท่านไม่ใช่ผมนะครับ
ดังนั้นสำหรับผม การลาออก ไม่ใช่การทำให้ตัวเองได้เงินเดือนมากขึ้น แต่เป็นการแสวงหาโอกาส และพิสูจน์ความสามารถตัวเองในที่ใหม่ บรรยากาศใหม่ครับ
The Next Resignment – Retention for Company
ผมจะบอกอะไรให้นะครับ เรื่องการ retention คนของท่าน อ่านดีๆนะครับ ท่านที่มีสถานะ นายจ้าง ลูกจ้าง หัวหน้าทั้งหลาย
คนทำงานเหมือนกันกับความรักครับ คือคุณต้องเห็นคุณค่าเค้าตอนอยู่ ไม่ใช่เห็นคุณค่าเค้าตอนจะเสียไป ตอนนั้นจะไปบอกว่ารักหมดใจยังไงก็สายไปแล้ว
ในบางจังหวะผมเลือกที่จะรับข้อเสนอ retention ในบางครั้งผมเลือกจะปฏิเสธ แม้ว่าที่เก่าจะเกทับด้วยการให้มากกว่าที่ใหม่เสียอีกก็ตาม
ถ้ามีคุณภาพ มีคุณค่า ผมเชื่อว่าต้องมีคนเชื่อในฝีมือคุณไม่ว่าที่ไหน อย่างที่บอกไป ตอนที่ทำงานอยู่นั้น คุณสร้างคุณค่าให้ตัวเองและงานได้แค่ไหน
มันเหมือนกับ ถ้าได้คนที่เรารักและรักเรามันก็ดีสุดยอดครับ แต่ถ้าไม่ ผมว่าเลือกคนที่รักเรา น่าจะดีกว่าเลือกคนที่เรารักนะครับ : )
คนทำงานเหมือนกันกับความรักครับ คือคุณต้องเห็นคุณค่าเค้าตอนอยู่ ไม่ใช่เห็นคุณค่าเค้าตอนจะเสียไป
The Next Resignment – ส่งท้าย
ผมคงไม่เล่าเรื่องนี้ต่อแล้ว ขอให้ท่านโชคดีในหน้าที่การงาน ประสบความสำเร็จ มีโอกาสเติบโตในสายวิชาชีพที่ทำและอย่าลืมรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
สำหรับชีวิตการทำงานของผม เชื่อได้ว่า The next resignment ยังคงมีต่อแน่นอนครับ แล้วคุณล่ะ พร้อมหรือยังสำหรับการลาออกครั้งต่อไป ?
จบเรื่อง the next resignment แต่เพียงเท่านี้ มันยังไม่จบบริบูรณ์ครบทุกบท เพราะบทที่เหลือ คุณจะเป็นคนเขียนต่อแล้ว ไม่ใช่ผมครับ
ถ้าอยากพัฒนา ต้องรู้ทั้งกว้างและลึกครับ คนรู้กว้างมีมาก คนรู้ลึกก็มีมาก แนวขวาง แนวดิ่งมีเยอะแล้ว เราโตแนวทแยงดีกว่าครับ
ผม (เจ้าของ blog) รวบรวมไว้เพียงเท่านี้ครับ ขอบคุณครับ
by
Tags:
Comments
One response to “The Next Resignment by axdaman”
[…] ตั้งแต่ The Next Resignment by @axdaman ก็พึ่งได้มาเขียนบล็อก เพราะพึ่งทำเว็บให้แฟนเสร็จหมาดๆ (ถ้าไม่มีอะไรเพิ่มนะ -_-’) ช่วงนี้เลยยังไม่ได้หัดทำ Laravel 4 ต่อเลย หลังจากลง Laravel4 ได้แล้วเมื่อคราวก่อน […]
Leave a Reply