Tag: thaiflood

  • ฟังดร.เล่า: น้ำท่วมเมืองไทย 5 – ตีน้ำให้แตก

    น้ำท่วมเมืองไทยปีพ.ศ. 2554 นี้มีความรุนแรงมากเหลือเกิน และมีดราม่ามากเหลือเกิน ยังไงใจเย็นๆกันนะครับ และขอให้เราผ่านพ้นวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ไปด้วยกันครับ คราวนี้ผมขอนำเสนอทางแนวในการจัดการน้ำหลังน้ำท่วม โดยดร.ได้เล่าหลักการของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมีการกระจายน้ำออกไปไม่ให้รวมกัน เพราะเมื่อน้ำอยู่รวมกันจะมีพลังมาก แต่ถ้าตีน้ำให้กระจายออกกำลังของน้ำก็จะน้อยลงเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา ดร.บอกว่าลืมเล่าให้พี่ @iPattt กับพี่ @warong (ฟังดร.เล่า: น้ำท่วมเมืองไทย 4 – น้ำท่วม…วาระแห่งชาติ) เกี่ยวกับแนวความคิดที่นำวิธีการที่ประเทศเกาหลีใต้มาใช้ในการจัดการน้ำมาใช้ในเมืองไทยเพื่อป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยืน น้ำท่วมเมืองไทย: เกาหลีใต้โมเดล (ขอเอามาใช้บ้างนะ :P) ลักษณะภูมิประเทศของเกาหลี จะเป็นภูเขาซะส่วนใหญ่ การทำเกษตรกรรมก็จะต้องทำบนภูเขา และบนภูเขาในเกาหลีจะมีทางน้ำเป็นสาขาย่อยๆ จากทางน้ำสายใหญ่เพื่อให้น้ำสามารถเข้าถึงพื้นที่เกษตรกรรมได้ดี Korea Boseong Greentea GardenPhoto: AgricultureGuide.org – Importance of Water in Agriculture น้ำท่วมเมืองไทย: ตีน้ำให้แตก สำหรับเมืองไทย ดร.ได้อธิบายต่อว่า ถ้าเราสามารจัดการน้ำได้โดยทำคลองจากแม่น้ำปิง ออกมาทั้งสองข้าง ก็จะสามารถทำให้ปริมาณของน้ำในแม่น้ำปิงลดลงและพลังของน้ำก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้นเราจึงควรทำคลองให้แตกสาขาย่อยๆ ออกไปเยอะๆ เหมือนกับรากฝอยของต้นไม้ ดังรูปด้านล่างนี้ แนวทางการขุดคลองจากแม่น้ำปิง…

  • ฟังดร.เล่า: น้ำท่วมเมืองไทย 4 – น้ำท่วม…วาระแห่งชาติ

    วันที่ 16 ต.ค. 2554 ดร.ได้มีโอกาสพูดคุยกับพี่ @iPattt (Tigeridea, iHearBand, iPattt.com) และพี่ @warong (Vai Vai Soft, jongblog.com) ซึ่งประเด็นหลัก ก็คือเรื่องน้ำท่วม ซึ่งมันเกี่ยวโยงไปถึงการทำงานของหน่วยงานราชการ และสิ่งที่ประเทศไทยควรจะทำหลังจากผ่านพ้นวิกฤตน้ำท่วมปี 2554 ไปแล้วดร.ได้เล่าเบื้องต้นถึงประสบการณ์การทำงานในกรมทรัพยากรธรณี ที่ได้ไปเข้าประชุมแทนอธิบดีทั้ง 4 คน สมัยดร.ยังทำงานอยู่ในกรมทรัพยากรธรณี ตัวอย่างเช่น อนุกรรมการลุ่มน้ำ คณะกรรมการคุ้มครองสัตว์ป่า ประชุมเรื่องผลของแผ่นดินไหวต่อประเทศไทยกับกรมอุตุนิยมวิทยา ประชุมเรื่องกฎหมายน้ำมันในสมัยอธิบดี ดร.ประภาส จักกะพาก ฯลฯ จนได้รู้ถึงวัฒนธรรมการทำงานของราชการไทย และเหตุผลที่คนที่มีฝีมือไม่อาจจะอยู่ในราชการไทยได้ และเล่าถึงวิธีการทำงานซึ่งต้องวางแผนกันตลอดปี ดังที่ผมเขียนไว้ใน ฟังดร.เล่า: น้ำท่วมเมืองไทย 3 – น้ำท่วม พ.ศ. 2554 น้ำท่วมเมืองไทย: น้ำท่วม…วาระแห่งชาติ พี่ @iPattt ได้สอบถามถึงแนวความคิดสำหรับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะยาวว่าควรจะต้องจัดตั้งกระทรวงใหม่เพื่อมาจัดการเรื่องภัยพิบัติโดยเฉพาะหรือไม่ ดร.บอกว่า ไม่ควรที่จะตั้งเป็นกระทรวงหรือกรม ควรที่จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขเท่านั้น ไม่ควรให้มีตำแหน่งใหญ่โต โดยให้คณะทำงานนี้ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี เพื่อให้สามารถขอข้อมูลจากหน่วยงานอื่นได้ง่าย และเมื่อเอาแผนงานมาใช้งานจริง ก็จะสามารถทำงานได้โดยไม่ติดขัด น้ำท่วมเมืองไทย:…

  • ฟังดร.เล่า: น้ำท่วมเมืองไทย 3 – น้ำท่วม พ.ศ. 2554

    น้ำท่วมเมืองไทยปีนี้ (พ.ศ.2554) ดูเหมือนว่าจะหนักกว่าน้ำท่วมในปีพ.ศ.2538 อีกนะครับ แต่ปีนี้เปลี่ยนจากน้ำท่วมในภาคอีสานมาเป็นน้ำท่วมในภาคเหนือแทน โดยน้ำที่ท่วมนั้นท่วมมาจากภาคเหนือซึ่งรวมถึงจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก น้ำท่วมเมืองไทย: เล่าเหตุการณ์ปี พ.ศ.2554 น้ำท่วมมีสาเหตุมาจากปริมาณน้ำฝนที่มากผิดปกติจากพายุนกเตนที่เข้ามาในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2554 โดยน้ำท่วมจังหวัดทางภาคเหนือก่อน จากนั้นน้ำท่วมก็ขยายลงมาตามแม่น้ำปิง ประกอบกับมีพายุเข้ามาซ้ำอีกจนน้ำได้เข้าแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นพื้นที่ภาคกลาง โดยมีน้ำท่วมในหลายจังหวัดรวมถึง พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ จนกระทั่งน้ำท่วมได้เข้ามาถึงจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี มีนบุรี และกรุงเทพในเขตรอบนอกคันกั้นน้ำ ทำให้คนกรุงเทพต่างรู้สึกตื่นตระหนกกันไปหมด ทั้งซื้อของเพื่อตุน เอารถไปจอดในที่สูงเพื่อหนีน้ำท่วม น้ำท่วมนั้นได้ท่วมถนนสายหลักๆของประเทศอย่างเช่น ถนนสายเอเชีย ถนนพหลโยธินช่วงวังน้อย ทำให้การขนส่งเป็นไปได้อย่างลำบาก และน้ำได้ท่วมนิคมอุตสาหกรรมหลักๆในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนิคมฯโรจนะ นิคมฯไฮเทค นิคมฯนวนคร น้ำท่วมเมืองไทย: ถนนสายหลักของประเทศ เมื่อ 13 ต.ค. 2554 ผมได้คุยเรื่องน้ำท่วมกับดร. หลังจากที่ดร.กลับจากทำงานที่ต่างจังหวัด เมื่อดร.ได้ฟังข่าวที่น้ำท่วมถนนพหลโยธินช่วงอำเภอวังน้อย ก็พูดออกมาว่า จริงๆแล้วมันควรจะทำให้ถนนที่เป็นถนนสายหลักให้สูงกว่านี้ และควรจะมีถนนที่ใช้เป็นสายสำรองได้อีก 2 สาย: ไปทางนครราชสีมา และทางสุพรรณบุรี เพื่อที่ว่าถ้าถนนเส้นใดเส้นหนึ่งถูกตัดขาด เราก็สามารถใช้เส้นทางอื่นในการขนส่งได้…

  • ฟังดร.เล่า: น้ำท่วมเมืองไทย 2 – ทางออก(ของน้ำใน)ประเทศไทย

    ฟังดร.เล่า: น้ำท่วมเมืองไทย 2 – ทางออก(ของน้ำใน)ประเทศไทย

    สวัสดีครับ วันนี้ผมมาเล่าเรื่องน้ำท่วมเมืองไทยต่อจากเมื่อวานครับ โดยวันนี้ (20 ต.ค. 2553) หนังสือพิมพ์ Bangkok Post ได้ลงรูปแผนผังแม่น้ำในภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งผมขอเอามาทำรูปประกอบบทความนี้ครับ [2017-10-25 มีอัพเดทข้อมูลจาก @thanyakij อยู่ด้านล่างนะครับ] น้ำท่วมเมืองไทย: สาเหตุของน้ำท่วมโคราชและวิธีแก้ไข ข่าวน้ำท่วมในจังหวัดนครราชสีมา ทางช่องทีวีไทยเมื่อวานนี้ (19 ต.ค. 2553) ตอนค่ำ รองอธิบดีกรมชลประทานได้บอกสาเหตุของการที่น้ำท่วมในตัวเมืองโคราชนั้นเป็นเพราะมีปริมาณน้ำฝนมากผิดปกติ ประกอบกับพื้นที่รองรับน้ำน้อยลงไป ซึ่งทางกรมชลประทานก็มีตัวเลขปริมาณน้ำที่ไหลสำหรับอุทกภัยคราวนี้ และตัวเลขความสามารถในการรองรับน้ำของแม่น้ำด้วย ตรงนี้พ่อผมบอกว่า นี่ไงล่ะ น้ำท่วมเพราะพื้นที่ระบายน้ำน้อยนี่เอง แล้วถ้ามีตัวเลขแล้ว ทำพื้นที่รองรับน้ำให้เป็น 2 เท่าได้มั้ย ในเมืองนอกเค้าถึงขนาดเวรคืนที่ดินเพื่อเอามาทำคลองระบายน้ำเลยนะ (เห็นมีแต่เวรคืนเพื่อทำถนน) เป็นถึงอธิบดีก็ได้ไปเมืองนอกบ่อยอยู่แล้วนี่ น้ำท่วมเมืองไทย: แนวทางการเพิ่มทางระบายน้ำออกทะเล   แม่น้ำสะแกกรัง-แม่น้ำสุพรรณบุรีแล้ววันนี้ (20 ต.ค. 2553) พ่ออ่าน Bangkok Post เรื่องน้ำท่วมแล้วเรียกผมไปดูแผนที่ที่แสดงแม่น้ำสายต่างๆที่ลงมาที่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม่น้ำทุกสายจะลงมาเป็นคอขวดที่แม่น้ำเจ้าพระยา พ่อชี้แผนที่แล้วอธิบายตำแหน่งที่ควรจะทำทางระบายน้ำเพื่อปันน้ำออกไป (รูปที่ 1) ไม่ให้น้ำเข้ามาที่กรุงเทพมากเกินไปจนน้ำท่วม โดยเส้นสีดำแสดงเส้นทางที่ควรจะทำทางระบายน้ำเพิ่มเติมดังนี้ ขยายจุดรวมแม่น้ำตรงช่วงจังหวัดนครสวรรค์…

  • ฟังดร.เล่า: น้ำท่วมเมืองไทย 1

    น้ำท่วมในจังหวัดทางภาคอีสานของประเทศไทย ทำให้ผมได้มีโอกาสคุยกับพี่ @iPattt ถึงเรื่อง ความสบายของคนกรุง vs. ความเดือดร้อนของคนชนบท ซึ่งผมมีมุมมองต่างออกไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save