เด็กไทยเกิดน้อยลง วิกฤตประชากรศาสตร์ที่ควรดูแล

ads

ช่วงนี้เราจะเห็นข่าวปริมาณเด็กที่เรียนในมหาวิทยาลัยน้อยลงจนน่าตกใจนะครับ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ในโรงเรียนก็ยังไม่มีข่าวแบบนี้ซักเท่าไหร่.. แต่ไปเห็นคอมเม้นต์ในเฟสบุ๊คที่น่าสนใจ เลยเอามาเขียนให้อ่านกัน

จากข่าวด้านบนเป็นเรื่องที่น่าตกใจ ซึ่งที่คุยกันบนเฟสบุ๊ค มีคอมเม้นท์นึงบอกเอาไว้ได้น่าสนใจว่า ปรากฏการณ์นี้มีเหตุมาจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 .. ที่ช่วงนั้นมีปัญหาทางด้านการเงิน ทำให้มีเด็กเกิดน้อยลงมาก จนมีปัญหากับจำนวนเด็กที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยใน 20 ปีต่อมา

คอมเม้นท์บอกว่าในปี 40 มีเด็กเกิดน้อย ทำให้ตอนนี้มีเด็กเข้ามหาวิทยาลัยน้อย
คอมเม้นท์จากมิตรสหายท่านหนึ่ง

ประชากรศาสตร์: ตัวอย่างที่ผ่านๆมา

เมื่อเห็นข้อความคอมเม้นท์นั้น ผมก็เลยถึงบางอ้อ.. ทำให้นึกถึงปรากฏการณ์ Baby Boomer ในอเมริกา คือในช่วงปี 1946-1964 จะมีปริมาณเด็กเกิดเยอะมาก จนสินค้าที่ทำมาขายสำหรับกลุ่มคนที่เกิดในช่วงปีนั้น ขายดีกันมากมาย

อีกธุรกิจนึงที่น่าสนใจ คือธุรกิจเครื่องเขียน (stationary) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเด็กนักเรียนโดยตรง..
ผมเคยสงสัยนะ ว่าธุรกิจพวกนี้จะอยู่ได้ยังไงถ้าเด็กๆที่เป็นลูกค้าได้โตกันไปหมดแล้ว คิดไปคิดมาก็ได้คำตอบคือ พวกเค้าจะมีลูกค้าที่เป็นเด็กรุ่นใหม่เข้ามาเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ๆอยู่ทุกๆปีครับ …

.. ซึ่ง ผมคิดว่า วิกฤตของธุรกิจกระดาษก็มาจากที่จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงด้วยส่วนนึงนะ

พวกเค้าจะมีลูกค้าที่เป็นเด็กรุ่นใหม่เข้ามาเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ๆอยู่ทุกๆปีครับ …

แล้วต่อไปล่ะ

ต่อไปจะเป็นอย่างไร? ถ้าสาเหตุมาจากจำนวนลูกค้าที่ลดลงอย่างนี้?? 

ผมคิดว่า ด้วยสาเหตุที่ demand ลดลงอย่างนี้ ต่อไปอีก 5-10 ปีจะมีผลไปถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจรถยนต์ และธุรกิจอื่นๆด้วย

แต่สำหรับกลุ่มอสังหาฯที่มีความเตรียมพร้อม เค้าเริ่มขยับกันไปแล้วนะครับ ตอนที่เขียนโพสต์นี้อยู่ (23/10/2561) ผมก็เห็นข่าวบริษัทอสังหาฯต่างก็มีการร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศกันเยอะเลย โดยเฉพาะบริษัทญี่ปุ่น โดยมีจุดประสงค์เพื่อดึงกลุ่มลูกค้าจากญี่ปุ่นเข้ามาในไทย 

..

แล้วเจ้าของธุรกิจต่างๆ จะทำยังไงต่อไป? … ทางออก 1 ข้อที่ผมคิดได้ตอนนี้ก็มีเรื่องของการขยายตลาดไปกลุ่มใหม่ๆ ซึ่งอาจจะต้องขยายไปประเทศข้างเคียง .. 

แล้วคุณล่ะ คิดยังไงบ้างกับปัญหานี้? คิดแล้วเขียนคอมเม้นท์ไว้ใต้โพสต์นี้ได้เลยนะครับ

ads
ads
ads
ads

Comments

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save