บันทึก: นโยบายกทม ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ปี 2556

ads

จดบันทึกเพื่อไว้ทบทวนอีก 4 ปีข้างหน้านะครับ ว่านโยบายของผู้ว่าฯ กทมคนที่ 16 ที่เพิ่งชนะเลือกตั้งไปเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 นี้ จะสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหนครับ

สำหรับนโยบายที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ประกาศหาเสียงไว้ หลัก ๆ ประกอบด้วย

10 มาตรการเร่งด่วน

1.ติดตั้งกล้อง CCTV ทุกถนน ทุกซอยอีก 20,000 ตัว และติดตั้งไฟส่องสว่างในพื้นที่เสี่ยงอีก 20,000 ดวง
2.ตั้งอาสาสมัครชุมชนเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด
3.ปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS อ่อนนุช-แบรริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้าเหลือ 10 บาท และรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT เหลือ 5 บาท
4.โรงรับจำนำ กทม. รับจำนำดอกเบี้ย 1 สลึง 5,000 บาทแรก
5.เพิ่มทักษะอาชีพ พร้อมสอนภาษา อังกฤษ จีน มาลายู ฟรี เพื่อเพิ่มรายได้ 200,000 คน
6.ปรับอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กทม. เป็นลูกจ้างชั่วคราว เพิ่มเงินเดือน ปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท, ปวส.10,000 บาท, ปวช. 8,600 บาท
7.เพิ่มจุดบริการพิเศษ งานทะเบียนราษฎร์ ณ ห้างสรรพสินค้า และขยายเวลาให้บริการถึง 22.00 น.
8.Wi-Fi ความเร็วสูง 4 MB ฟรี 5,000 จุด *ถ้าทำได้จริง จะยกเลิก TrueWIFI ซะเลย >.<
9.เพิ่มบริการเก็บขยะไม่ให้ตกค้างในตรอก ซอก ซอย
10.เพิ่มแท็กซี่เพื่อคนพิการ และผู้สูงอายุ 100 คัน

ส่วนนโยบายที่จะทำทันที

ได้แก่
โครงการสร้างคลองด่วนน้ำ เพื่อระบายน้ำท่วมขังในพื้นที่กทม. โดยจะสร้างคลองด่วน 4 จุด คือ
1.คลองด่วนตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม สร้างทางด่วนระหว่างตอม่อไปสู่อุโมงค์ยักษ์พระราม 9 ระยะทาง 13 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 2.2 พันล้านบาท
2.คลองด่วนเส้นทางถนนรัชดาภิเษก เริ่มตั้งแต่บริเวณหลังศาลอาญา บรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังในบริเวณจุดอ่อนเขตห้วยขวาง จตุจักร และบริเวณหน้าศาลอาญา ซึ่งลอดใต้ทางด่วนวิภาวดีลงสู่คลองเปรม ใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท
3.คลองด่วนฝั่งธนบุรี ขยายคลองพระยาราชมนตรี จากคลองบางเชือกหนังขึ้นไปด้านเหนือผ่านแนวคลองบางพรต แนวคลองบางระมาด และแนวคลองบ้านไทร เพื่อให้ฝั่งธนบุนีมีเส้นทางระบายน้ำหลักมากขึ้น ส่วนหนึ่งจะเชื่อมโยงกับการสร้างอุโมงค์ยักษ์
และ 4.คลองด่วนรามอินทรา จากศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก ถึงคลองหลุมไผ่ ใช้งบประมาณ 368 ล้านบาท

ขณะที่ 6 นโยบายหลัก

ประกอบด้วย
1.มหานครแห่งความปลอดภัย ขยายเครือข่ายกล้อง CCTV 50,000 ตัว โดยเชื่อมโยงกับเครือข่ายเอกชน 200,000 ตัว ติดตั้งไฟส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ครั้งแรก นำร่อง 10 เส้นทางริมคลอง และที่เอกชนที่ใช้สอยร่วมกัน ลานกีฬา ลานแอโรบิค ถนนเอกชน เป็นต้น

ขยายโครงการ “ชุมชนร่วมใจ ระวังภัยยาเสพติด” ให้ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ ตั้งศูนย์บริหารจัดการภัยพิบัติเร่งด่วน (OEM) ป้องกัน แจ้งเตือน ลดความเสียหายจากอัคคีภัย น้ำท่วม และแผ่นดินไหว เพิ่มประสิทธิภาพดับเพลิงอาคารสูง พร้อมชุดปฏิบัติการดับเพลิงขนาดเล็กสำหรับชุมชน สร้างเพิ่ม อุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำ 6 แห่ง พร้อมระบบตรวจสภาพและเตือนภัยน้ำท่วม

2.มหานครแห่งความสุขเดินทางสะดวก/จราจรคล่องตัว เพิ่มเส้นทางรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง (Light Rail/Monorail) เชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนทุกประเภท สร้างอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟ ปรับปรุงถนนจุดตัดทางแยก ตรอก ซอยและทางลัด 100 สาย เพิ่มทางเลือกการเดินทางด้วยเรือโดยสาร เริ่มที่ คลองภาษีเจริญ เพิ่มเส้นทางจักรยาน 30 เส้นทาง และเพิ่มจักรยานให้เช่า 10,000 คัน ปรับปรุงทางเท้าให้เรียบ เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสะดวกสำหรับคนพิการ เพิ่มจุดจอดและจร (Park & Ride) 4 มุมเมือง

ตรวจสอบฟรี สภาพการจราจรที่เป็นปัจจุบัน (Real Time) ด้วยระบบ BMA Live Traffic Application บนสมาร์ทโฟน ด้านสุขภาพ ไม่ป่วยทั้งปี รับฟรี 1,000 บาท แถมตรวจสุขภาพฟรี ดูแลผู้สูงอายุครบวงจร สร้างโรงพยาบาลให้ครบ 4 มุมเมือง ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน บริการสุขภาพ 24 ชม. อย่างครอบคลุมและทั่วถึง ทุกกลุ่มอายุ ทุกพื้นที่ ขยายโครงการ “อาหารร้านริมทาง สะอาดปลอดภัย มีใบรับรอง” สร้างศูนย์กีฬาทันสมัยครบวงจร 4 มุมเมือง พร้อมยกระดับลานกีฬาเดิม 200 แห่ง ลานแอโรบิก กทม. 100 ลาน กระจายทั่วทุกเขต

3.มหานครสีเขียว เพิ่มพื้นที่สีเขียวอีก 5,000 ไร่ พร้อม 10 สวนสาธารณะใหญ่ สร้างสวนลอยน้ำแห่งแรก สวนสุนัข (Dog Park) 4 มุมเมือง ส่งเสริมสวนบนอาคารสูง (Green Roof) เพิ่มระบบจัดการขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่จัดเก็บ ขนถ่าย จนถึงเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีทันสมัยและสะอาด สร้างโรงงานบำบัดน้ำเสียเพิ่ม 5 แห่ง พร้อมวางแผนขยายการบำบัดน้ำเสียให้ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ ปรับภูมิทัศน์ถนนสายหลัก รวมถึงนำสายไฟฟ้าลงดิน 3 เส้นทาง และย้ายสายโทรศัพท์-เคเบิ้ล ลงดิน สร้างห้องน้ำสาธารณะสะอาด ครอบคลุมจุดเชื่อมต่อการเดินทางและพื้นที่ท่องเที่ยว

4.มหานครแห่งการเรียนรู้ เรียนฟรี นักเรียนโรงเรียน กทม. “อิ่มท้อง สมองดี มีวินัย โตไปไม่โกง” นักเรียนโรงเรียนกทม. ภาษาอังกฤษแข็งแรง พร้อมรับประชาคมอาเซียน กวดวิชาโดยสถาบันกวดวิชาชื่อดังให้นักเรียน ม.3 และ ม.6 ครบทุกโรงเรียน รถรับ-ส่งนักเรียนโรงเรียนกทม.ฟรี ในพื้นที่เดินทางไม่สะดวก บริการหมวกกันน็อคสำหรับนักเรียนโรงเรียนกทม.

ส่งเสริมศักยภาพของมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครในการผลิตบัณฑิต สอนหลักสูตรต่อเนื่อง และร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ ส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน เปิดห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้มิติใหม่อีก 10 แห่ง และเพิ่มจำนวนบ้านหนังสือให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ติดตั้ง (WiFi) ความเร็วสูง 4 MB 5,000 จุด ฟรี โดยเน้นในโรงเรียน ห้องสมุด สวนสาธารณะ และสถานที่อื่นๆ ของ กทม. สร้างศูนย์เยาวชนมิติใหม่เพิ่มอีก 5 แห่ง ส่งเสริมการอ่าน ตามโครงการ UNESCO “กรุงเทพฯเมืองหนังสือโลก 2556” เพิ่มโรงเรียนรองรับนักเรียนความสามารถพิเศษ รวมถึงเด็กออติสติก อีก100 โรงเรียน

5.มหานครแห่งโอกาสของทุกคน ให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็น และร่วมตรวจสอบการบริหารงานของกทม. ผ่านระบบ i-Bangkok ส่งเสริมความสามารถและความสนใจของคนรุ่นใหม่ ด้วยการสร้างโรงเรียนดนตรีและโรงเรียนกีฬา ศูนย์กีฬามิติใหม่ และ Extreme sport สี่มุมเมือง เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ และ Young Designer Market ทั้งถาวรและเป็นครั้งคราว สร้างตลาดสำหรับคนรุ่นใหม่ เปิดเวบไซด์เพื่อคนรุ่นใหม่ ส่งเสริมช่องทางสื่อสารงานสร้างสรรค์

เปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่ม พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ฝึกอาชีพ เรียนคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ จีน และมลายู ฟรี ขยายปริมาณและมูลค่าเศรษฐกิจภาคกลางคืน เช่น การขนส่งและการกระจายสินค้า และการท่องเที่ยว

6.มหานครแห่งอาเซียน เปิดโอกาสและส่งเสริมอาชีพในการผลิตและจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์ฮาลาล เพิ่มและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเชิงอนุรักษ์ทั้งฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี ศูนย์ส่งเสริม SMEs อาเซียน และจัดทำ BMA SMEs ASEAN Data Bank ร่วมมือกับโรงพยาบาลรัฐ มหาวิทยาลัย และเอกชน เพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการบริการด้านการแพทย์และการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของอาเซียนและของโลก ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรมอาเซียน

จัดตั้งสภามหานครอาเซียน ส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง กทม.และองค์กรในอาเซียน จัดทำป้ายบอกทาง แผนที่ ป้ายรถประจำทาง และจุดให้ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษทั่วกรุงเทพฯ ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมั่นใจ และให้บริการที่ประทับใจ เช่น คนขับรถแท็กซี่และรถโดยสารสาธารณะ

เปิดเพิ่มนโยบายแก้ปัญหาจราจร
นอกจากนี้ ในช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้เปินโยบายแก้ปัญหาจราจร ประกอบด้วย

-จูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชน ด้วยการลดราคารถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายเป็น 10 บาทตลอดสาย และรถบีอาร์ทีเป็น 5 บาทตลอดสาย

-จัดหาพื้นที่ที่จอดรถแนวดิ่ง พัฒนาแอพลิเคชั่นข้อมูลด้านการจราจร เพิ่มเส้นทางจักรยาน 30 เส้นทาง รวมถึงสร้างเส้นทางลัดในซอยต่างๆ

-ส่วนมาตรการระยะกลางจะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกียกกาย

-สร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ 4 จุด สำหรับระยะยาวจะมีระบบขนส่งมวลชนแบบรางขนาดเล็ก 5 เส้นทาง

-ปรับปรุงภูมิทัศน์ที่ท่าเทียบเรือ 18 แห่ง เพื่อให้ใช้เรือจะป้อนผู้โดยสารเข้าสู่รถไฟฟ้าบีทีเอสได้

และศึกษาให้โครงการมินิบีอาร์ที เพื่อแก้ปัญหาจราจรอีกทางหนึ่งได้

4 ปีนับแต่นี้ไป “คนกรุง” ไม่ว่าจะเลือก หรือไม่เลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ให้เป็นผู้ว่าฯ กทม.อีกสมัย จะต้องช่วยกันติดตามตรวจสอบและทวงถาม สิ่งที่เขาเคยหาเสียงไว้

ที่มา – suthichaiyoon.com ทีมงานหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ads
ads
ads
ads

Posted

in

,

by

Comments

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save