ฟังดร.เล่า: น้ำท่วมเมืองไทย 5 – ตีน้ำให้แตก

ads

น้ำท่วมเมืองไทยปีพ.ศ. 2554 นี้มีความรุนแรงมากเหลือเกิน และมีดราม่ามากเหลือเกิน ยังไงใจเย็นๆกันนะครับ และขอให้เราผ่านพ้นวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ไปด้วยกันครับ

คราวนี้ผมขอนำเสนอทางแนวในการจัดการน้ำหลังน้ำท่วม โดยดร.ได้เล่าหลักการของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมีการกระจายน้ำออกไปไม่ให้รวมกัน เพราะเมื่อน้ำอยู่รวมกันจะมีพลังมาก แต่ถ้าตีน้ำให้กระจายออกกำลังของน้ำก็จะน้อยลง

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา ดร.บอกว่าลืมเล่าให้พี่ @iPattt กับพี่ @warong (ฟังดร.เล่า: น้ำท่วมเมืองไทย 4 – น้ำท่วม…วาระแห่งชาติ) เกี่ยวกับแนวความคิดที่นำวิธีการที่ประเทศเกาหลีใต้มาใช้ในการจัดการน้ำมาใช้ในเมืองไทยเพื่อป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยืน

น้ำท่วมเมืองไทย: เกาหลีใต้โมเดล (ขอเอามาใช้บ้างนะ :P)

ลักษณะภูมิประเทศของเกาหลี จะเป็นภูเขาซะส่วนใหญ่ การทำเกษตรกรรมก็จะต้องทำบนภูเขา และบนภูเขาในเกาหลีจะมีทางน้ำเป็นสาขาย่อยๆ จากทางน้ำสายใหญ่เพื่อให้น้ำสามารถเข้าถึงพื้นที่เกษตรกรรมได้ดี

Korea Boseong Greentea Garden
Photo: AgricultureGuide.org – Importance of Water in Agriculture

น้ำท่วมเมืองไทย: ตีน้ำให้แตก

สำหรับเมืองไทย ดร.ได้อธิบายต่อว่า ถ้าเราสามารจัดการน้ำได้โดยทำคลองจากแม่น้ำปิง ออกมาทั้งสองข้าง ก็จะสามารถทำให้ปริมาณของน้ำในแม่น้ำปิงลดลงและพลังของน้ำก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้นเราจึงควรทำคลองให้แตกสาขาย่อยๆ ออกไปเยอะๆ เหมือนกับรากฝอยของต้นไม้ ดังรูปด้านล่างนี้

แนวทางการขุดคลองจากแม่น้ำปิง ดัดแปลงจาก Wikipedia – Chao Phraya River

เส้นสีดำแสดงคลองและอ่างเก็บน้ำที่น่าจะขุดขึ้นมาใหม่จากแม่น้ำปิง ซึ่งผมได้วาดขึ้นมาใหม่จากแผนที่ โดยยังไม่ได้คำนึงถึงระดับความสูงของพื้นที่

จากรูปจะเห็นว่าจะมีคลองที่แตกออกมาจากแม่น้ำปิง มีลักษณะคล้ายรากฝอยของต้นไม้ ซึ่งการผันน้ำเข้าสู่คลองย่อยๆเหล่านี้จะช่วยให้แรงดันน้ำในแม่น้ำปิงน้อยลงไปบ้าง ซึ่งถ้ายิ่งมีคลองมาก ก็จะสามารถผ่อนแรงดันของน้ำในแม่น้ำปิงได้มาก นอกจากนี้ยังในรูปยังมีอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีไว้เพื่อกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในช่วงฤดูน้ำน้อยได้อีกด้วย

คลองเหล่านี้จะต้องมีประตูกั้นน้ำ ซึ่งจะสามารถเปิด-ปิดได้เพื่อควบคุมปริมาณน้ำในคลอง การขุดคลองเหล่านี้จะช่วยให้สามารถทำเกษตรกรรมในพื้นที่ที่ห่างไกลจากแม่น้ำปิง โดยดร.บอกว่า ปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่ห่างจากแม่น้ำไปแค่ 10 กม. ก็เป็นพื้นที่แห้งแล้งแล้ว ดังนั้นการขุดคลองก็จะช่วยในการทำเกษตรกรรมได้มากขึ้น

น้ำท่วมเมืองไทย: การจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพที่ดร.ได้พูดถึง จะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำที่ไหลผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ ตอนผมค้นหารูปเพื่อมาลง blog นี้ ก็เลยได้อ่านบทความเกี่ยวกับการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรบ้าง อย่างเช่น

The ignorant and primitive watering not only wastes water but also damages the soil.
ที่มา: AgricultureGuide.org – Importance of Water in Agriculture

More crop for every drop
ที่มา: FOOD & FERTILIZER TECHNOLOGY CENTER – Improving Water Use Efficiency in Asian Agriculture

การศึกษาเรื่องการจัดการน้ำเพื่อให้สามารถใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพนี้มีมานานแล้ว แสดงให้เห็นว่าหลายประเทศได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพอย่างมาก ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เกษตรกรรมของประเทศพัฒนาขึ้นไปได้ ยังสามารถช่วยป้องกันน้ำท่วมได้อีกด้วย

Irrigation Canal in Korea
Photo: FOOD & FERTILIZER TECHNOLOGY CENTER – Improving Water Use Efficiency in Asian Agriculture

การป้องกันน้ำท่วมสามารถทำได้โดยการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีตัวอย่างการจัดการน้ำมากมายในต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น ในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นภูเขาซะส่วนใหญ่ ดร.เลยเล่าถึงกรณีน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีนี้ ที่น้ำในแม่น้ำปิงมีมากเกินไปทำให้น้ำมีพลังมาก การจัดการน้ำโดยขุดคลองจากแม่น้ำปิงออกไปทั้งสองฝั่งจะช่วยให้แรงดันของน้ำในแม่น้ำปิงน้อยลง และยังช่วยพัฒนาเกษตรกรรมตามแนวฝั่งคลองอีกด้วย

ads
ads
ads
ads

Comments

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save